reanooanirut

A great WordPress.com site

คู่กรด – เบส

จากปฏิกิริยาของกรดกับเบสที่กล่าวถึงแล้ว ตามทฤษฎีของเบรินสเตต- ลาวรี จะเห็นว่าในปฏิกิริยาหนึ่งๆ อาจจะจัดคู่กรด- เบสได้ 2 คู่ด้วยกัน ตัวอย่างเช่น

ตัวอย่างที่ 1 

                                       (ที่มา : http://wps.prenhall.com/wps/media/objects/602/616516/Chapter_15.html)

จากสมการ NH3 เป็นอิเล็กโทรไลต์อ่อนแตกตัวได้ไม่หมดเกิดปฏิกิริยาผันกลับได้ โดยปฏิกิริยาไปข้างหน้า H2O เป็นกรด เพราะให้โปรตอนแก่ NH3 ส่วน NH3 เป็นเบส เพราะรับโปรตอนจาก H2O ปฏิกิริยาย้อนกลับ NH4+ เป็นกรดเพราะ ให้โปรตอนแก่ OH ส่วน OH ป็นเบสเพราะรับโปรตอนจาก NH4+ นั่นเอง

ตัวอย่างที่ 2 

(ที่มา: http://wps.prenhall.com/wps/media/objects/602/616516/Chapter_15.html)

จากสมการ HF เป็นอิเล็กโทรไลต์อ่อนแตกตัวได้ไม่หมดเกิดปฏิกิริยาผันกลับได้ โดยปฏิกิริยาไปข้างหน้า HF เป็นกรด เพราะให้โปรตอนแก่ HS ส่วน HS เป็นเบส เพราะรับโปรตอนจาก HF ปฏิกิริยาย้อนกลับ H2S เป็นกรดเพราะ ให้โปรตอนแก่ F ส่วน F เป็นเบสเพราะรับโปรตอนจาก H2S นั่นเอง

จะเห็นได้ว่า คู่กรด- เบสนั้นจะมีจำนวนโปรตอน (H) ต่างกัน 1 ตัว หรืออาจกล่าวได้ว่า จำนวนโปรตอนของคู่กรด จะมากกว่าโปรตอนคู่เบสอยู่ 1 ตัวเสมอ

ใส่ความเห็น