reanooanirut

A great WordPress.com site

การแตกตัวของเบสอ่อน

เบสอ่อนเมื่อละลายน้ำแล้วจะแตกตัวเป็นไอออนได้เพียงบางส่วนเช่นเดียวกับกรดอ่อน โดยปฏิกิริยาการแตกตัวของเบสอ่อนเป็นปฏิกิริยาที่ผันกลับได้ เช่น

ตัวอย่างเบสอ่อน

NH3  ammonia
CH3NH2  amino methane
CH3CH2NH3  amino ethane
CN  cyanide ion
HCO3 hydrogen carbonate ion

เมื่อเบสอ่อนละลายน้ำจะรับ H+  จากน้ำเกิดไฮดรอกไซด์ไอออน  การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้เช่นเดียวกับกรดอ่อน เกิดภาวะสมดุลดังสมการ

NH3        +       H2O    →       NH4+    +   OH

CH3NH2  +      H2O   →      CH3NH3+    +   OH

CN         +      H2O       →     HCN    +   OH

ความสัมพันธ์ระหว่างเบสอ่อนและไอออน ณ ภาวะสมดุล   พิจารณาการแตกตัวของเบส   NH3

                                NH3       +       H2O    →       NH4+    +   OH   ความเข้มข้นเริ่มต้น        Cb                   –                  0                0  เปลี่ยนไป                    -x                   –                 +x              +x 

 ความเข้มข้นที่สมดุล       Cb-x                –                  x                x

ค่าคงที่การแตกตัวของเบสอ่อนบางชนิดในน้ำที่ 25 oC

             ค่าคงที่ของการแตกตัวของเบสอ่อน  จะบอกให้ทราบถึงความสามารถในการแตกตัวเป็นไอออนในสารละลายได้เช่นเดียวกับค่าคงที่
การแตกตัวของกรดอ่อน

ใส่ความเห็น