reanooanirut

A great WordPress.com site

สารละลายอิเล็กโทรไลต์และนอนอิเล็กโทรไลต์

อิเล็กโทรไลต์ (Electrolyte) หมายถึง สารที่เมื่อละลายในน้ำจะนำไฟฟ้าได้ เนื่องจากมีไอออนซึ่งอาจจะเป็นไอออนบวก หรือไอออนลบเคลื่อนที่อยู่ในสารละลาย สารละลายอิเล็กโทรไลต์นี้อาจเป็นสารละลายกรด เบส หรือเกลือก็ได้ ตัวอย่างเช่น สารละลายกรดเกลือ (HCl) สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) และสารละลายของเกลือ KNO3 เป็นต้น โดยในสารละลายดังกล่าวประกอบด้วยไอออน H+ , Cl , OH , K+ และ NO3 – ตามลำดับ

     นอนอิเล็กโทรไลต์ (Non-electrolyte) หมายถึง สารที่ไม่สามารถนำไฟฟ้าได้เมื่อละลายน้ำ ทั้งนี้เนื่องจาก สารพวกนอนอิเล็กโทรไลต์ จะไม่สามารถแตกตัวเป็นไอออนได้ เช่น น้ำบริสุทธิ์ น้ำตาล แอลกอฮอล์ เป็นต้น ความแตกต่างของสารอิเล็กโทรไลต์และนอน- อิเล็กโทรไลต์ พิจารณาจากสาร 2 ชนิด เมื่อละลายน้ำจะรวมกับน้ำเกิดการเปลี่ยนแปลงดังนี้

ภาพการเป็นอิเล็กโทรไลต์และนอนอิเล็กโทรไลต์ของสาร

อิเล็กโทรไลต์แก่และอิเล็กโทรไลต์อ่อน

    สารละลายอิเล็กโทรไลต์ต่างๆ นำไฟฟ้าได้ไม่เท่ากัน เนื่องจากการแตกตัวเป็นไอออนของอิเล็กโทรไลต์ไม่เท่ากัน อิเล็กโทรไลต์ที่แตกตัวเป็นไอออนได้มากกว่า ก็จะนำไฟฟ้าได้ดีกว่าอิเล็กโทรไลต์ที่แตกตัวเป็นไอออนได้น้อยกว่า อิเล็กโทรไลต์แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

      1. อิเล็กโทรไลต์แก่ (strong electrolyte) หมายถึง สารที่ละลายน้ำแล้วแตกตัวเป็นไอออนได้มาก อาจจะแตกตัวได้ 100% และนำไฟฟ้าได้ดีมาก เช่น กรดแก่ และเบสแก่ และเกลือส่วนใหญ่จะแตกตัวได้ 100% เป็นต้น

ตัวอย่างสมการแสดงการแตกตัวของสารละลายอิเล็กโทรไลต์แก่

     2. อิเล็กโทรไลต์อ่อน (weak electrolyte) หมายถึง สารที่ละลายน้ำแล้วแตกตัวได้บางส่วน นำไฟฟ้าได้น้อย

ตัวอย่างสมการแสดงการแตกตัวของสารละลายอิเล็กโทรไลต์อ่อน

ตารางตัวอย่างของอิเล็กโทรไลต์แก่ และอิเล็กโทรไลต์อ่อนบางชนิด

อิเล็กโทรไลต์แก่(นำไฟฟ้าได้ดี)

อิเล็กโทรไลต์อ่อน(นำไฟฟ้าได้ไม่ดี)

เกลือที่ละลายน้ำทั้งหมด

H2SO4

HNO3

HCI

HBr

HCIO4

NaOH

KOH

Ca(OH)2

Ba(OH)2

CH3COOH

H2CO3

HNO2

H2SO3

H2S

H2C2O4

H3BO3

HCIO

NH4OH

HF

 เราจะรู้ได้อย่างไรว่าสารละลายของเราเป็นสารละลายอิเล็กโทรไลต์หรือเปล่า?

ตัวอย่างผลการทดลองการทดสอบการนำไฟฟ้า

สารที่ใช้ทดสอบ

ผลการทดสอบ

น้ำบริสุทธิ์

น้ำที่มีน้ำตาลละลายอยู่

ยูเรีย CO(NH2)2

สารละลายเกลือ NaCl

สารละลายเกลือ K2SO4

สารละลายกรด HCI

สารละลายกรดแอซิติก CH3COOH

สารละลายเบส NaOH

สารละลายเบส Na4OH

ไม่นำไฟฟ้า      (หลอดไฟไม่สว่าง)

ไม่นำไฟฟ้า      (หลอดไฟไม่สว่าง)

ไม่นำไฟฟ้า      (หลอดไฟไม่สว่าง)

นำไฟฟ้า          (หลอดไฟสว่าง)

นำไฟฟ้า          (หลอดไฟสว่าง)

นำไฟฟ้า          (หลอดไฟสว่าง)

นำไฟฟ้าน้อย    (หลอดไฟสว่าง)

นำไฟฟ้า          (หลอดไฟสว่าง)

นำไฟฟ้า          (หลอดไฟสว่าง)

ผลที่ได้อธิบายได้ว่า สารละลายที่ไม่มีไอออนอยู่ เช่น น้ำ หรือน้ำตาลทรายที่ละลายอยู่ในน้ำมัน จะมีพันธะแบบโคเวเลนต์ ไม่สามารถแตกตัวเป็นไอออนได้ จึงไม่นำไฟฟ้า แต่ NaCl HCl เมื่ออยู่ในน้ำจะแตกตัวเป็น Na+ , Cl หรือ H+ , Cl ซึ่งเป็นไอออนที่เคลื่อนที่ในสารละลายทำให้เกิดการนำไฟฟ้าขึ้นได้

ใส่ความเห็น