reanooanirut

A great WordPress.com site

การแตกตัวของกรดอ่อน

การแตกตัวของกรดอ่อน monoprotic

กรดอ่อนหรือเบสอ่อนเมื่อละลายน้ำจะแตกตัวได้เพียงบางส่วน  ในสารละลายจึงมีไอออนและโมเลกุลที่ไม่แตกตัว  ดังนั้นจึงเกิดการเปลี่ยนแปลงผันกลับได้เกิดภาวะสมดุลสารละลายกรดอ่อน-เบสอ่อน จัดว่าเป็นสารละลายอิเล็กโทรไลต์อ่อน

ตัวอย่างกรดอ่อน monoprotic

HCOOH

 formic acid

HNO2

 nitrous acid

CH3COOH

 acetic acid

HF

 hydrofluoric acid

HCN

 hydrocyanic acid

HClO2

 chlorous acid

เมื่อกรดอ่อน HA  แตกตัวจะให้ไอออนลบและ H3O+ ดังสมการ

HA        +    H2O    →     H3O+    +   A

ตัวอย่าง                 HCOOH  +    H2O     →    H3O+    +   HCOO

HClO4    +    H2O    →   H3O+    +   ClO4

HCN       +     H2O    →   H3O+    +   CN

ความสัมพันธ์ระหว่างกรดอ่อนและไอออน ณ ภาวะสมดุล  

พิจารณาการแตกตัวของกรด HA

HA        +      H2O      →           H3O+    +      A– 

ความเข้มข้นเริ่มต้น       Ca                 –                          0                0

เปลี่ยนไป                  -x                  –                        +x             +x

ความเข้มข้นที่สมดุล     Ca-x               –                         x               x

ค่าคงที่การแตกตัวของกรดอ่อนบางชนิดในน้ำที่ 25 oC

กรด

สูตร

ค่า Ka

  ไฮโดรเจนซัลเฟตไอออน

HSO4

1.2×10-2

  ไฮโดรฟลูออริก

HF

6.8×10-4

  ไนตรัส

HNO2

4.5×10-4

  ไซยานิก

HCN

3.5×10-4

  ฟอร์มิก

HCOOH

1.7×10-4

  เบนโซอิก

C6H5COOH

6.6×10-5

  แอซิติก

CH3COOH

1.8×10-5

  ไฮโปคลอรัส

HClO

3.5×10-5

  แอมโมเนียมไอออน

NH4+

6.0×10-10

  ไฮโดรไซยานิก

HCN

4.9×10-10

            ค่าคงที่ของการแตกตัวของกรดอ่อน  จะบอกให้ทราบถึงความสามารถในการแตกตัวเป็นไอออนในสารละลายได้  ถ้ากรดอ่อนมีความเข้มข้นเท่ากัน  กรดอ่อนที่มีค่า ka มากที่สุดจะทำให้เกิด H3O+  มากที่สุด และจะเป็นกรดอ่อนที่มีความเป็นกรดสูงที่สุด

การแตกตัวของกรดอ่อน polyprotic

                กรดอ่อนที่มี H มากกว่า 1 อะตอมจะแตกตัวให้ H3O+ มากกว่า 1 ไอออนเรียกกรดประเภทนี้ว่ากรดพอลิโปรติก

ตัวอย่างกรดอ่อน polyprotic

H3PO4 phosphoric acid
H3PO3 phosphorous acid
H3BO3 boric acid
H2CO3 carbonic acid
H2SO3 sulfurous acid

การแตกตัวของกรดประเภทนี้มีได้หลายขั้น แต่ละขั้นจะมีปริมาณการแตกตัวแตกต่าง

กันการแตกตัวของกรด H3PO4 เกิดได้ 3 ขั้นดังนี้

กรดพอลิโปรติก ถ้าแตกตัวให้ H3O+ 2 ไอออนเรียกว่ากรดไดโปรติก เช่น H2SO4ถ้าแตกตัวให้ H3O+ 3 ไอออนเรียกว่ากรดไตรโปรติก เช่น H3PO4  การแตกตัวของกรพอลิโปรติกจะมีมากกว่า 1 ขั้น และแต่ละขั้นจะมีค่า Ka เฉพาะตัว โดยทั่วไปค่า Ka1 มีค่ามากกว่าค่า Ka2 และค่า Ka2 มากกว่าค่า Ka3ในการเปรียบเทียบการแตกตัวของกรดจึงมีเปรียบเทียบจากค่า Ka1สำหรับกรด  H3PO3  แม้จะมี  H  3  อะตอมแต่สามารถเกิดการแตกตัวได้เพียง 2ขั้นเท่านั้น

ค่าคงที่การแตกตัวของเบสอ่อนบางชนิดในน้ำที่ 25 oC

กรด

สูตร

 

ค่า Kb

ฟอสฟอรัส

 

H3PO3

H3PO3  +   H2O   →  H3O+ + H2PO3

Ka1=1.6×10-2

H2PO3 +   H2O  → H3O+  +  HPO32- Ka2=6.3×10-7

ออกซาลิก

 

H2C2O4

H2C2O4  +   H2O→H3O+  +  HC2O4

Ka1=5.6×10-2

HC2O4 +   H2O → H3O+  +  C2O42- Ka2=5.1×10-5

ซัลฟิวรัส

 

H2SO3

H2SO3  +   H2O → H3O+  +  HSO3

Ka1=1.3×10-2

HSO3   +   H2O → H3O+  +  SO32- Ka2=6.8×10-8

           ค่าคงที่ของการแตกตัวของกรดอ่อนพอลิโปรติกจะบอกให้ทราบถึงความสามารถในการแตกตัวเป็นไอออนในสารละลายได้เช่นเดียวกับค่าคงที่การแตกตัวของกรดอ่อนมอนอโปรติก

ใส่ความเห็น